000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > ปั๊มเสียงความถี่ต่ำให้ได้ดังใจ (ลึกกว่าที่คิดเยอะ)
วันที่ : 25/01/2016
12,910 views

ปั๊มเสียงความถี่ต่ำให้ได้ดังใจ(ลึกกว่าที่คิดเยอะ)

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ความถี่ช่วงเสียงต่ำ ตั้งแต่ 200 Hz ลงไป มีผลต่อการฟังเป็นอย่างมาก ความเร้าใจ ความกระหึ่มสมจริง ความรู้สึกถึงพละกำลัง ความอบอุ่น และการโอบ รวมทั้ง บรรยากาศ ล้วนขึ้นอยู่กับช่วงความถี่ต่ำกว่า 200 Hz ลงไปทั้งสิ้น

????????????? เราจึงควรให้ความสนใจต่อความถี่ต่ำมากกว่าที่เราคิด

????????????? ทำอย่างไร เราจึงจะได้ความถี่ต่ำที่ถูกใจ

????????????? ในที่นี้เราจะพูดถึงวิธีการที่จะให้ได้มาซึ่งความถี่ต่ำในบุคลิกต่างกันออกไป โดยการ ?สร้าง? ขึ้นมา ในกรณีที่ต้นกำเนิดให้ได้ไม่จุใจเพียงพอ

????????????? เป็นกลวิธีการ ?สร้าง,จำลอง? ขึ้นมาอย่างชาญฉลาด ซึ่งมีใช้กันในวงงานอาชีพระบบเสียงสาธารณะเช่น ในงานคอนเสริท, งานแสดงดนตรี, สถานบันเทิงเริงรมย์, โรงภาพยนตร์, ห้องบันทึกเสียง(ช่วงตัดต่อตกแต่งแม่เทปต้นฉบับ), โฮมเธียเตอร์และอื่นๆ

????????????? เครื่องที่ช่วยสร้างหรือจำลองความถี่ต่ำมีชื่อเรียกหลากหลายกันไป แล้วแต่ละบริษัท ฟังก์ชั่นต่างๆที่ใช้ในการตัดต่อตกแต่งความถี่ต่ำมีอยู่หลายชนิด ได้แก่

1. กราฟฟิคอีควอไลเซอร์ เป็นการเลือกยกเป็นช่วงๆ ความถี่ต่ำเช่นที่ 30, 60, 120, 240 Hz นี่เป็นวิธีที่ง่ายละสามัญที่สุด ยกได้ละเอียดกว่าปุ่มยกเสียงทุ้มปกติ(BASS) ที่จะยกเป็นแถบทั้งช่วงเช่นตั้งแต่ 100 Hz ลงไป จะเน้นบางช่วงความถี่ไม่ได้ แต่จะเพิ่ม-ลดทั้งแผง(ทั้ง band) ซึ่งอาจไปยกบางช่วงที่เราไม่ต้องการ เช่น ต้องการยกเฉพาะทุ้มลึกแถวๆ 50 Hz ก็ต้องยก BASS จนสุด เป็นอันว่า เบสต้นแถวๆ 150 Hz ถูกยกขึ้นมาด้วย เผลอๆทำให้กลางต่ำอู้ก้องขึ้น ทึบขึ้น

?????? ถ้าเป็น EQ เราสามารถเลือกยกที่ 30 หรือ 60 Hz ได้ โดยไม่กระเทือนที่ 120 Hz ขึ้นไป(หรือมีผลรบกวนน้อยมาก ขึ้นอยู่กับว่า วงจรการยก-ลด ทำมาแคบและชันแค่ไหน หรือทำมากินกว้าง(ค่า Q สูงหรือต่ำ)) ยิ่งถ้าเป็น PARAMETRIC EQUALIZER ซึ่งสมารถปรับค่า Q นี้ได้ด้วย รวมทั้งเลื่อนจุดยกความถี่ไล่ไปทีละนิดๆมากกว่าหรือน้อยกว่าจุดยกความถี่หลักได้(เช่น ความถี่หลักที่ 60 Hz ก็เลื่อนความถี่ลงมาหรือขึ้นไปอย่างละเอียดได้อีก ตั้งแต่ 30-120 Hz ซึ่งทำให้การจูนเสียงหรือสั่งเสียง ทำได้ตรงเป้ายิ่งขึ้นไปอีก แต่ราคาก็จะแพงกว่าปกติ

2. การใช้ EQ ช่วย จะมีประโยชน์ก็ต่อเมื่อ เสียงที่เข้ามานั้นมีความถี่ต่ำค่อนข้างครบอยู่แล้ว แต่ถ้าไม่มีจะทำอย่างไร เช่น ความถี่ที่บันทึกมาลงลึกแค่ 100 Hz แน่นอนว่า จะยก EQ ช่วยที่ต่ำกว่า 100 Hz ลงมาอย่างไรก็แทบไม่มีผล เพราะมันไม่มีอะไรให้ยก

?????? จึงมีวงจรพิเศษที่จะคอยตรวจสอบความถี่ต่ำตามที่เราตั้งไว้ เช่นตั้งไว้ที่ 100 Hz(เพราะเราพอรู้สึกว่า ความถี่ต่ำพอมีแต่ไม่ลึก ถ้าเราฟังแล้ว ความถี่ต่ำมันห้วนหายไปเลย คิดว่าน่าจะตั้งแต่ 200 Hz ลงไป เราก็เลือกที่ 200 Hz)

?????? วงจรจะทำการลดทอนความถี่ 100 Hz ที่มันจับได้ นำ 100 Hz นั้นมาหาร 2 ให้เป็น 50 Hz แล้วเอา 50 Hz ที่สังเคราะห์ขึ้นมานี้ ย้อนกลับไปเติมให้แก่เสียงเพลงเดิมในระดับที่เราเลือกปรับมากน้อยได้ เราก็จะฟังเหมือนเพลงนั้นลงความถี่ได้ถึง 50 Hz ถ้าเราเลือกที่ 50 Hz วงจรจะหาร 2 เป็นวงจร 25 Hz เติมเข้าไป ตรงนี้ต้องระวังอย่างมาก เพราะถ้ายกระดับเสียง 25 Hz ที่เติมเข้าไปมากเกินไป ลำโพงซับมีสิทธิ์กระจุยได้ง่ายๆ

?????? การเติมความถี่ต่ำลึก ช่วยเพิ่มความอบอุ่น(wARMTH) แก่เสียง ช่วยเพิ่มฐานเบส ให้ทิ้งตัวลงพื้นห้อง เพิ่มความหนักกระหึ่ม สะเทือน หรือสะท้านกาย(ผิวกาย) ถ้าใช้กับระบบไบ-แอมป์มีซับพอได้ แต่ถ้าใช้กับลำโพงระบบ FULL RANGE ปกติ กรวยลำโพงจะขยับเข้า-ออกอย่างน่ากลัวมาก

3. บางครั้งเสียงทุ้มที่บันทึกมา แม้ว่าจะมีครบและลงได้ลึกพอเพียง แต่ฟังแล้วมันจืดๆพิกล ขาดแรงปะทะ หรือการพุ่งออกมา ฟังป้อแป้หน่อมแน้ม ก็จะมีวงจรอีกแบบที่เรียกว่า PEAK EXPANDER โดยวงจรตรวจจับจะคอบตรวจช่วงความถี่ที่เราอยากให้เสียงทุ้ม ?กระโจน? ออกมา เพื่อเน้นจังหวะจะโคนแบบทุ้มที่มันส์ๆ สมมติเราเลือกที่ 90 Hz ทุกครั้งที่มีเสียงปรากฏแถวๆ 90 Hz วงจร PEAK EXPANDER จะดึงระดับเสียงแถวๆความถี่ 90 Hz นั้นให้ดัง ?ยิ่งขึ้นไปอีก? อย่างเป็นพิเศษ ไม่ขึ้นอยู่กับความดังโดยรวมของทั้งเพลงตามวอลลูมปกติที่เราตั้งไว้ เหมือนมันช่วย ?ขยายการสวิง หรือถ่างการสวิงเสียงให้กว้างขึ้น(DYNAMIC RANGE กว้างขึ้น) เช่นเราเลือกวอลลูมดังค่อยที่อัตราขยาย 2 เท่า หมายความว่า ถ้าสัญญาณเข้ามา 1 โวลท์ สัญญาณออกจะเป็น 2 โวลท์ เข้ามา 2 ก็ออก 4 ?เข้ามา 4 ก็ออก 8 แต่จะมีเฉพาะแถวๆความถี่ 90 Hz ที่กราฟความดังระหว่างขาเข้ากับขาออกไม่เป็น 2 เท่า(ไม่ LINEAR) กลับจะเป็นแบบทวีคูณเช่น เข้ามา 1 อาจจะตั้งให้ออกเป็น 3 เข้ามา 2 แทนที่จะเป็น 4(เหมือนความถี่ช่วงอื่น) ก็กลับเป็น 10 เข้ามา 3 อาจออกถึง 15 คือไม่เป็นเชิงเส้น(NONLINEAR) กราฟการเพิ่มอย่างทวีคูณนี้ก็อาจเลือกได้ว่าจะให้อัตราการเพิ่มอย่างไม่ฮวบฮาบนัก หรือพุ่งกระฉูดเลย

4. บางเครื่องจะมีมาให้ครบทั้ง 3 แบบ และเลือกปรับค่าตัวแปรต่างๆได้หมด คนที่จะใช้จึงควรมีบันยะบันยังรู้ว่า แอมป์ของตน, ลำโพงของตร มีขีดจำกัดแค่ไหนด้วย ถ้าใช้แบบไม่มีสติ ก็มีแต่พังกับพัง หรือฟังไม่เก่ง ปรับมั่วไปหมด เหมือนจับปูใส่กระด้ง ผลที่ได้ก็มีสิทธิ์และจนพังไม่เป็นธรรมชาติ มีแต่น่ารำคาญหู แม้ลำโพงกับแอมป์จะรับได้

5. การยกทุ้มรวมทั้งทุ้มลึกมากเกินไป ความถี่คู่ควบด้านสูง(UPPER HARMONIC) ของความถี่ต่ำที่ถูกยก จะไปเติมปริมาณให้แก่ความถี่คู่ควบด้านต่ำ(LOWER HARMONICS) ของความถี่กลางจนมากเกินไป ผลคือ เสียงกลางจะขุ่นทึบ หรืออ้วนบวมเกินไป เกิดความถี่คู่ควบด้านสูงของเสียงกลางมากเกินไป ในทำนองเดียวกัน อันจะไปเติมความถี่คู่ควบด้านต่ำของเสียงแหลมจนล้น ผลคือ เสียงแหลมเองก็พลอยขุ่นหนา ขาดประกายระยิบระยับไปด้วย จึงต้องตระหนักว่า การไปดัดแปลงเสริมแต่งใดๆต่อความถี่ต่ำ ย่อมมีผลกระทบไล่ไปถึงความถี่กลางและสูงด้วยเสมอ

6. ดอกลำโพงเสียงต่ำ และเพาเวอร์แอมป์ที่ขับเสียงต่ำเองก็มีส่วนบั่นทอนหรือส่งเสริม คุณภาพเสียงต่ำด้วยเช่นกัน ดอกที่กระชับตัวเองได้ฉับไว ย่อมให้ทุ้มที่กระชับ, ชัดเจน, มีรายละเอียด และตามดอกกลาง, ดอกแหลมทัน เสียงโดยรวมจึงกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวและส่งเสริมคุณภาพกันและกัน อันนี้รวมทั้งภาคขยายเสียงที่มีค่า DAMPING PACTOR สูงๆ ก็จะช่วยให้ทุ้มกระชับ, ชัดเจนขึ้น ถ้าค่า DF นี้ต่ำ ลำโพงทุ้มก็ไม่กระชับ จะทำให้ทุ้มลึกเบลอ, ยานคราง, เฉื่อย, ขุ่น, สับสน

7. การจัดวางดอกลำโพงเสียงแหลมห่างจากดอกลำโพงเสียงกลางทุ้มมากเกินไป ทำให้เสียงกลางต่ำขาดหาย เสียงกลางถึงสูงจะผอมบาง ผลคือ ความถี่ช่วงต่ำกว่าจะผลอยพร่ามัว ขาดรูปลักษณ์ ความชัดเจน

8. การออกแบบตัวตู้ลำโพงก็มีผลต่อความถี่ต่ำอย่างมาก ถ้าตู้เล็กเกินไป ทุ้มก็ลงได้ไม่ลึก ถ้าตู้ใหญ่เกินไป และดอกลำโพงกระชับตัวเองได้ไม่เก่ง(กรวบไม่ตึงตัว ยวบยาบมากไป) ทุ้มก็จะโด่งก้องที่ความถี่หนึ่ง เมื่อความดังถึงระดับหนึ่ง และความถี่อื่นๆจะพร่ามัว ตู้แบบมีรูระบายอากาศกับแบบตู้ปิดก็ให้ทุ้มที่ต่างกัน แบบแรกให้ทุ้มโด่งและดัง แต่ลงความถี่ต่ำลึกไม่ได้ และชาดความคมชัด แบบตู้ปิดจะให้ทุ้มที่ลงดได้ลึก แต่ค่อยลงมากพอควร ต้องใช้แอมป์วัตต์สูงหน่อยมาขับตู้แบบระบบเบสทำเป็นท่อวกวนภายใน แล้วระบายอากาศออก(TRANSMISSION LINE) อาจให้ทุ้มที่เหมือนว่าจะลงได้ลึก แต่เป็นความลึกที่พร่ามัว หาสาระอะไรไม่ได้

?????? จำไว้ว่า การใช้ระบบท่อไม่ว่าในรูปแบบไหนในการระบายอากาศออกนอกตู้ จะให้ความถี่ต่ำที่เอาแน่นอนไม่ได้ ขึ้นอยู่กับว่า ณ.เวลานั้นๆเสียงเครื่องดนตรีที่ครอบคลุมช่วงความถี่ต่ำนั้น ดังหรือค่อยแค่ไหน ถ้าดังแบบแช่นานหน่อยเช่น เสียงเกาดับเบิ้ลเบสถี่ๆ เสียงออร์แกน เสียงสีเชลโล่ ก็จะรู้สึกเหมือนเสียงอิ่มลึกมีเนื้อหนัง มิติเหมือนดีขึ้นเป็นตัวขึ้น แต่พอเสียงนั้นค่อยลง หรือดังแบบขาดๆหายๆไม่ใช่แบบแช่ เช่นเครื่องเคาะ เครื่องสี เสียงร้องผู้หญิง ฯลฯ การช่วยเพิ่มระดับเสียงต่ำด้วยท่อจะหายไป เสียงทั้งหมดจะผอม, บาง, แบน หรือฟุ้งขึ้น

9. เพาเวอร์แอมป์หรือภาคขยายที่มีค่า DF(ความสามารถในการหยุดการสั่นค้างของกรวยลำโพง) สูงมากๆ ทุ้มมักจะห้วน, ลงไม่ลึกเท่าแอมป์ที่ค่า DF ต่ำ ซึ่งจริงๆมันอาจจะถูกต้อง แต่บังเอิญดอกลำโพงเสียงต่ำนั้น ตัวมันเองก็ลงความถี่ต่ำได้ไม่ลึกอยู่แล้ว(ทุ้มห้วน) ก็เท่ากับว่า แอมป์ฟ้องลำโพง

?????? ยิ่งถ้าแอมป์มีค่า DF สูงๆจากการใช้วงจรป้อนกลับแบบลบ(NFB)(NEGATIVE FEDDBACK) มากเกินไป เสียงทุ้มจะห้วนและแข็งกระด้างมาก ยังกับหินกลิ้ง

10. การเดินสายต่างๆอย่างถูกต้องในเรื่องทิศทาง, การไม่แตะกัน ชิ้นส่วนของภาคขยายซ้าย, ขวา หรือแผงวงจรแบ่งเสียงลำโพงกลาง, แหลม ทิศทางเดียวกันและถูกทิศด้วย และมีค่าซ้าย, ขวาเท่ากันมากที่สุด สายไฟ AC ของทุกเครื่องสลับขาเสียบถูกต้อง ทั้งหมดนี้จะให้เสียงทุ้มที่คมชัด พุ่งหลุดออกมามากขึ้น โดยไม่ต้องใช้วงจร PEAK EXPANDER ช่วย หรือยก EQ ช่วยใดๆ

11. ดอกลำโพงเสียงกลางทุ้มที่มีหัวจรวดกลางกรวย จะให้เสียงกลางต่ำถึงกลางสูงที่คมชัด เป็นตัวตนมากกว่ากรวยแบบเว้าลึกไม่มีหัวจรวด ทำให้เสียงทุ้มพลอยชัดเจนมีตัวตน คมชัดขึ้นกว่าพวกกรวยเว้าลึก

12. ระบบไฟ AC บ้านหรือ DC ในรถยนต์ ถ้าตกมากเกินไป ทุ้มจะห้วน, แข็งกระด้าง, ทุ้มลึกหาย เสียงขาดความควบแน่น หรือน้ำหนัก? หรือความอวบอิ่ม การแก้ด้วยวิธีต่างๆทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว จะไม่ได้ผล จะออกมาทะแม่งๆ

13. การสั่นสะเทือนต่อเครื่องเล่นแผ่น ต่อตัวถังปรี, เพาเวอร์แอมป์ จะทำให้ช่วงเสียงกลางลงต่ำออกพร่ามัว(เบลอ) ขณะที่การสั่นมีผลต่อช่วงเสียงกลางสูงถึงแหลมสุดน้อยกว่า จึงยังคงชัดได้ขณะที่กลางต่ำถึงต่ำมัวเบลอ จึงเหมือนความถี่ต่ำขาดหายไป แก้ด้วยเครื่องช่วยข้อ 1-4 จะยิ่งเพิ่มปัญหาการสั่น ทำให้ผลที่ได้ออกมาพิกลแปลกๆ

14. ระบบเสียงใดที่กลางแหลมดี ย่อมส่งผลให้ ?ตัวโน๊ต? ของความถี่ต่ำคมชัดพุ่งลอยมากขึ้น ส่งผลต่อให้ความถี่ต่ำฟังชัดเจน พุ่งลอน มีน้ำหนักดีขึ้นตามไปด้วย

15. อย่าลืมตรวจสอบ(ฟังเอา) ว่าดอกลำโพงเสียงกลาง, ดอกลำโพงเสียงแหลมขยับดันอากาศเข้า-ออกทิศเดียวกับดอกลำโพงเสียงต่ำหรือไม่(IN PHASE กันหรือไม่) ถ้ามันขยับสวนกัน(OUT OF PHASE)อยู่ เสียงจะฆ่าหักล้างกันเอง ยิ่งพยายามจะยกช่วย, จะปั๊มเสียงใดๆ ก็ยิ่งหักล้างกันมากยิ่งขึ้นแบบสูญเปล่า ถ้าไม่แก้หรือตรวจสอบประเด็นนี้ก่อน ก็อย่าหวังว่าจะแก้ไขด้วยวิธีอื่นใดทั้งสิ้น

สรุป จะเห็นว่า เทคนิคการจูนให้ได้เสียงความถี่ต่ำตามต้องการ(และน่าฟังด้วย) เป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนมากและไม่ง่ายเลย หลายคนจึงหลงประเด็นและเข้าป่าออกทะเลกันมาเยอะแล้ว เพราะมัวแต่ไปแก้ผิดจุด ผิดประเด็น และรู้ไม่จริง

หลักการท่าวางของมิเตอร์วัด ฉับไว -> ตัวเลขมาก

* การทำ ?แป๊ก? (สร้าง CLIPPING) โดยตัดวงจร delay on mเพาเวอร์แอมป์ออก(พังก็ยอม)

* การทำให้ OUTPUT จาก FORNT CLIP เพื่อยอดคลื่นหัวขาด ? หน้าคลื่นชันที่สุด อาจใช้วิธีหรี่ไฟเข้าฟรอนท์ลง

* น้ำยาหล่อลื่น

* ตู้เซฟ -> ตู้ลำโพง

* FULL RANGE OUT เข้า FULL RANGE AMP บังซับแอมป์(ตัด LPF ออกด้วย) เร็วขึ้นด้วย

* ลำโพงกลางแหลมใช้ดอกซับเผื่อหน้าคลื่นชันทำ TRI CAP เร่ง speed อย่าใส่ R ใดๆ

* สายสัญญาณ, สายลำโพง, สายไฟ ไวที่สุด อย่าเบิ้ลสาย

* ใช้ CAP มากที่สุด(มากกว่าแบต) CAP เร็วกว่าแบต

* แอบเปิด ULTRA LOW FRY เสริมเวลาวัด

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459